เมฆชั้นต่ำ


     เมฆชั้นต่ำ อยู่สูงจากพื้นดินไม่เกิน 2 กิโลเมตร มี 5 ชนิด ได้แก่ 
เมฆสตราตัส เมฆคิวมูลัส เมฆตราโตคิวมูลัส เมฆนิมโบสตราตัส และเมฆคิวมูโลนิมบัส 
ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว


หมายเหตุ: นักอุตุนิยมวิทยาถือว่า เมฆคิวมูลัสและเมฆคิวมูโลนิมบัส เป็นเมฆก่อตัวในแนวดิ่ง ซึ่งมีฐานเมฆอยู่ในระดับเมฆชั้นต่ำ แต่ยอดเมฆอาจอยู่ในระดับของเมฆขั้นกลางและชั้นสูง 



สเตรตัส Stratus (St)
    เมฆที่อยู่ต่ำสุดและอยู่ในแนวนอนคล้ายหมอกหรือคล้ายแผ่นฟิล์มบาง ๆ 
ทำให้ท้องฟ้ามีลักษณะเป็นฝ้าเกิดจากหมอกที่ลอยขึ้นมาจากพื้นดิน มักปรากฏ
ในตอนเช้ามืดหรือสาย  หรือหลังฝนตก





สตราโตคิวมูลัส  (Stratocumulus) Sc
      มีลักษณะค่อนข้างกลมมากกว่าแบน สีเทา เรียงตัวไม่เป็นระเบียบ มักอยู่ชิดติดกันจนเป็นลูกคลื่น ทนทานต่อกระแสลมไม่อ่อนไหวง่าย เมฆชนิดนี้แสดงถึงสภาวะอากาศที่อาจจะมีฝนตกในบริเวณนั้นแต่ถ้าเบาบางลงอากาศก็แจ่มใส




นิมโบสเตรตัส Nimbostratus (Ns)
      มีลักษณะเป็นแผ่นหนาสีเทาแก่สม่ำเสมอ ทำให้ท้องฟ้ามืดคลึมแผ่กว้างออกไปไม่เป็นรูปร่าง ซึ่งเป็นเมฆที่ก่อให้เกิดฝนตกต่อเนื่องคือ เมฆฝน






เมฆชั้นกลาง



     เมฆชั้นกลาง เกิดขึ้นที่ระดับสูง 2-6 กิโลเมตร ในการเรียกชื่อจะเติมคำว่า “อัลโต”
ซึ่งแปลว่า “ชั้นกลาง” ไว้ข้างหน้า เช่น เมฆแผ่นชั้นกลางเรียกว่า “เมฆอัลโตสตราตัส” (Altostratus)  เมฆก้อนชั้นกลางคือ “เมฆอัลโตคิวมูลัส” (Altocumulus)  


ข้อสังเกตุ: เมฆชั้นกลางมีความหนาแน่นพอที่จะบดบังดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเงา บางครั้งมองเห็นเป็นสีเทา 






เมฆอัลโตสเตรตัส Altostratus (As)
    เมฆที่มีสีเทาปนขาวหรือสีเทาปนน้ำเงิน มีลักษณะเป็นแผ่นๆ แต่หนากว่าและต่ำกว่าเซอร์โรสตราตัส บางครั้งเราจะเห็นแสงอาทิตย์สามารถส่องผ่านก้อนเมฆได้อย่างมัว ๆ แต่จะไม่มีพระอาทิตย์ทรงกลด




อัลโตคิวมูลัส Altocumulus (Ac)
      รูปร่างคล้ายคลื่นในทะเล  เป็นก้อนที่มีสีขาวปนเทา  และทำให้เกิดเงา  มักอยู่ในเส้นขนานกันหากเมฆชนิดนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงจนมองไม่เห็นเป็นรูปร่างแสดงว่าจะมีฝนตก





เมฆชั้นสูง



     เมฆชั้นสูง เกิดขึ้นที่ระดับความสูงมากกว่า 6 กิโลเมตร ในการเรียกชื่อ
จะเติมคำว่า “เซอโร” ซึ่งแปลว่า “ชั้นสูง” ไว้ข้างหน้า เช่น เมฆแผ่นชั้นสูง เรียกว่า 
“เมฆเซอโรสตราตัส” (Cirrostratus) เมฆก้อนชั้นสูงเรียกว่า “เมฆเซอโรคิวมูลัส” (Cirrocumulus) นอกจากนั้นยังมีเมฆชั้นสูงที่มีรูปร่างเหมือนขนนก เรียกว่า 
“เมฆเซอรัส” (Cirrus) 


ข้อสังเกตุ: เนื่องจากอากาศข้างบนบางมาก เมฆชั้นสูงไม่มีความหนาแน่นมากพอ

ที่จะบดบังดวงอาทิตย์ จึงมองเห็นเป็นสีขาวเท่านั้น 


เมฆเซอรัส Cirrus (Ci)

    ลักษณะเบา มองดูคล้ายขนนกสีขาวเป็นริ้ว ประกอบด้วยผลึกน้ำแข็ง หรือเป็น
เส้นบาง ๆ คล้ายควัน เป็นทางยาว เมฆชนิดนี้จะแสดงถึงอากาศแจ่มใส








เซอโรสเตรตัส Cirrostratus (Ca)
     มีลักษณะเป็นแผ่นยาวบาง ๆ ครอบคลุมท้องฟ้าเกือบทั้งหมดทำให้เกิดพระอาทิตย์
หรือพระจันทร์ทรงกลด 




เซอร์โรคิวมูลัส  Cirrocumulus (Cc)
     ลักษณะเป็นเกล็ดบาง ๆ สีขาวหรือเป็นละอองคลื่นเล็ก ๆ อยู่ติดกันบางตอน
จะแยกจากกันแต่จะอยู่เรียงกันอย่างเป็นระเบียบ โปร่งแสง เมฆชนิดนี้จะอยู่รูปเต็ม
ไม่นานก็จะเปลี่ยนเป็นเมฆชนิดอื่น





เมฆก่อตัวในแนวตั้ง


     เมฆก่อตัวในแนวตั้ง vertical development cloud ระดับความสูงเฉลี่ยของฐานเมฆอยู่ที่ 1,600 ฟุต (500 เมตร) ส่วนความสูงของยอดเมฆอาจสูงได้ถึงระดับ เมฆเซอรัสในกลุ่มเมฆชั้นสูง เป็นเมฆที่ก่อตัวได้อย่างรวดเร็วฉับพลัน และสามารถแบ่งออกเป็น



คิวมูลัส Cumulus (Cu)
    ลักษณะคล้ายเมฆเซอร์โรคิวมูลัสแต่มีขนาดใหญ่กว่า  เป็นเมฆที่มีขนาดหนาและก้อนใหญ่มักก่อตัวเหนือกระแสลมอย่างรวดเร็วโดยก่อตัวจากแนวดิ่งลอยตัวขึ้นไปเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละ 4-5 ก้อน เป็นแนวนอนหรือแบนกว้าง 





คิวมูโลนิมบัส  Cumulonimbus (Cb)
     เป็นเมฆที่มีก้อนหนาทึบที่สุดแผ่กระจายในแนวดิ่งและลอยตัวอยู่สูงคล้ายภูเขาที่ล่องลอบยอยู่บนฟากฟ้า บริเวณฐานจะมีสีดำ ส่วนยอดเป็นรูปทั่งหรือแหลนเป็นสีขาว อยู่กระจัดกระจายหรืทอรวมกันอยู่ ทำให้ฝนตก หรือเรียกว่าฟ้าคะนอง





ทาวเวอร์ริงคิวมูลัส  Towering  cumulus
     เป็นเมฆที่ก่อตัวในแนวตั้งอย่างรุนแรงและฉับพลัน  มีรูปทรงคล้ายดอกกะหล่ำที่สูงเสียดขึ้นไปในกลุ่มเมฆชั้นสูงโดยฐานเมฆจะมีสีเทาทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง





ชนิดของเมฆ


  นักอุตุนิยมวิทยาแบ่งเมฆตามระดับความสูงของชั้นเมฆออกเป็น 3 ระดับ คือ 
เมฆชั้นต่ำ เมฆชั้นกลาง และเมฆชั้นสูง เเละยังมีเมฆที่ก่อตัวในแนวตั้งหรือเเนวดิ่ง จะเกิดขึ้นเมื่ออากาศเหนือพื้นดินได้รับความร้อนจากเเสงอาทิตย์ อากาศาร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น เเละเกิดเป็นเมฆ ได้แก่ เมฆคิวมูลัส เเละเมฆคิวมูโลนิมบัส



 เมฆ (Cloud) คือ กลุ่มของละอองน้ำขนาดเล็กซึ่งเกิดจากการควบแน่นของหยดน้ำ
ในอากาศแต่เมฆชั้นสูงซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งจะเป็นกลุ่มของผลึกน้ำแข็งขนาด
เล็กโดยปกติน้ำบริสุทธิ์และไอน้ำโปร่งแสงจนไม่สามารถมองเห็นได้ แต่หยดน้ำและ
ผลึกน้ำแข็งมีพื้นผิว (Surface)ซึ่งสะท้อนแสงทำให้เราสามารถมองเห็นเป็นก้อนสีขาว
และในบางครั้งมุมตกกระทบของแสง และเงาจากเมฆชั้นบนหรือเมฆที่อยู่ข้างเคียง 
นอกจากนั้นความหนาแน่นของหยดน้ำในก้อนเมฆก็อาจทำให้มองเห็นเมฆเป็นสีเทา 




       และนอกจากนี้ยังสามารถแบ่งเมฆเมฆที่เกิดขึ้นในธรรมชาติมี 2 รูปร่างลักษณะ คือ 
เมฆก้อน และเมฆแผ่น เราเรียกเมฆก้อนว่า “เมฆคิวมูลัส” (Cumulus) และ เรียกเมฆแผ่น
ว่า “เมฆสเตรตัส” (Stratus) หากเมฆก้อนลอยชิดติดกัน เรานำชื่อทั้งสองมารวมกัน
และเรียกว่า “เมฆสเตรโตคิวมูลัส”(Stratocumulus) 

     ในกรณีที่เป็นเมฆฝน เราจะเพิ่มคำว่า “นิมโบ” หรือ “นิมบัส” ซึ่งแปลว่า “ฝน” 

เข้าไป เช่น เราเรียกเมฆก้อนที่มีฝนตกว่า“เมฆคิวมูโลนิมบัส” (Cumulonimbus)  
และเรียกเมฆแผ่นที่มีฝนตกว่า “เมฆนิมโบสเตรตัส” (Nimbostratus)